วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ซากฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์

ซากฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ ในจังหวัดอุดรธานี


สถานที่ตั้ง
อ่างเก็บน้ำกุดดู่บนภูพังคี ใกล้ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ไฟป่า วนอุทยานภูเก้า-ภูพานคำ อ.หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ลักษณะทั่วไป
เป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่จมอยู่ในกรวด และที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินที่ถูกน้ำชะล้าง และที่หล่นลงมากองอยู่เชิงเขา เป็นกระดูกเป็นท่อน ๆ มีขนาดต่าง ๆ กันใหญ่บ้าง เล็กบ้างเป็นส่วนต่าง ๆ ของไดโนเสาร์ประเภทไซโรพอด (Sauropod) ไดโนเสาร์กินพืชเช่นเดียวกับที่พบที่ประตูตีหมาอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และที่ภูกุ้มข้าวจังหวัดกาฬสินธุ์ อายุประมาณ 160-140 ล้านปี
แหล่งที่พบ
พบที่บริเวณอ่างเก็บน้ำกุดดู่บนภูพังคีใกล้ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ไฟป่า วนอุทยานภูเก้า-ภูพานคำ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ลักษณะการพบ
พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์กระจัดกระจายอยู่ตามทางเดินบนเขา สันนิษฐานว่าถูกน้ำฝนชะล้างลงมา และบางส่วนจมอยู่ในหินกรวด
ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนหนึ่งทางอำเภอส่งให้กรมทรัพยากรธรณีวิทยาพิสูจน์และเก็บแสดงไว้ที่อำเภอ หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ความสำคัญต่อชุมชน
การพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ทำให้เกิดการเรียนรู้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่และการ เปลี่ยนแปลงของพืช สัตว์ และเป็นประโยชน์มากในทางธรณีวิทยา เพราะซากฟอสซิลจะบอกอายุของหินที่พบฟอสซิล และใช้เป็นหลักฐานการเคลื่อนย้ายทวีปและการเชื่อมต่อกันของเปลือกโลก การจัดแสดงฟอสซิลไดโนเสาร์ทำให้เกิดความสนใจในการศึกษาเรื่องท้องถิ่นมาก ยิ่งขึ้น
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
การเดินทางไปท่องเที่ยวชมการทำหัตถกรรม ทอผ้าไหมขิด และเกษตรแผนใหม่ การปลูกมะม่วงได้ตลอดปีของอำเภอหนองวัวซอนั้น จะเพิ่มการเดินทางเข้าไปชมซากฟอสซิลไดโนเสาร์ที่บ้านกุดดู่ วนอุทยานภูเก้า-ภูพานคำด้วย ทำให้เกิดการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ขอบคุณข้อมูลจาก    http://kanchanapisek.or.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น