วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ซากฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์

ซากฟอสซิลกระดูกไดโนเสาร์ ในจังหวัดอุดรธานี


สถานที่ตั้ง
อ่างเก็บน้ำกุดดู่บนภูพังคี ใกล้ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ไฟป่า วนอุทยานภูเก้า-ภูพานคำ อ.หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ลักษณะทั่วไป
เป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่จมอยู่ในกรวด และที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินที่ถูกน้ำชะล้าง และที่หล่นลงมากองอยู่เชิงเขา เป็นกระดูกเป็นท่อน ๆ มีขนาดต่าง ๆ กันใหญ่บ้าง เล็กบ้างเป็นส่วนต่าง ๆ ของไดโนเสาร์ประเภทไซโรพอด (Sauropod) ไดโนเสาร์กินพืชเช่นเดียวกับที่พบที่ประตูตีหมาอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น และที่ภูกุ้มข้าวจังหวัดกาฬสินธุ์ อายุประมาณ 160-140 ล้านปี
แหล่งที่พบ
พบที่บริเวณอ่างเก็บน้ำกุดดู่บนภูพังคีใกล้ที่ตั้งหน่วยพิทักษ์ไฟป่า วนอุทยานภูเก้า-ภูพานคำ อำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ลักษณะการพบ
พบซากฟอสซิลไดโนเสาร์กระจัดกระจายอยู่ตามทางเดินบนเขา สันนิษฐานว่าถูกน้ำฝนชะล้างลงมา และบางส่วนจมอยู่ในหินกรวด
ซากฟอสซิลไดโนเสาร์ ส่วนหนึ่งทางอำเภอส่งให้กรมทรัพยากรธรณีวิทยาพิสูจน์และเก็บแสดงไว้ที่อำเภอ หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี
ความสำคัญต่อชุมชน
การพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์ทำให้เกิดการเรียนรู้ศึกษาชีวิตความเป็นอยู่และการ เปลี่ยนแปลงของพืช สัตว์ และเป็นประโยชน์มากในทางธรณีวิทยา เพราะซากฟอสซิลจะบอกอายุของหินที่พบฟอสซิล และใช้เป็นหลักฐานการเคลื่อนย้ายทวีปและการเชื่อมต่อกันของเปลือกโลก การจัดแสดงฟอสซิลไดโนเสาร์ทำให้เกิดความสนใจในการศึกษาเรื่องท้องถิ่นมาก ยิ่งขึ้น
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
การเดินทางไปท่องเที่ยวชมการทำหัตถกรรม ทอผ้าไหมขิด และเกษตรแผนใหม่ การปลูกมะม่วงได้ตลอดปีของอำเภอหนองวัวซอนั้น จะเพิ่มการเดินทางเข้าไปชมซากฟอสซิลไดโนเสาร์ที่บ้านกุดดู่ วนอุทยานภูเก้า-ภูพานคำด้วย ทำให้เกิดการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ

ขอบคุณข้อมูลจาก    http://kanchanapisek.or.th

โครงสร้างโครงกระดูกไดโนเสาร์

โครงสร้างโครงกระดูกไดโนเสาร์ 

ลักษณะที่ 1 Stegosaros
ลักษณะที่ 2 Triceraatops
ลักษณะที่ 3 Miaarara
ลักษณะที่ 4 Euoplocephalus
ลักษณะที่ 5 Albertosarus
ลักษณะที่ 6 Ornithomimus
ลักษณะที่ 7 Camarasaurus 

 ขอบคุณข้อมูลจาก  http://school.obec.go.th













































 

ซากดึก ดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil)

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ ฟอสซิล (fossil)
คือซากหรือร่อง รอยของพืชหรือสัตว์ที่ถูกเก็บรักษาไว้โดยธรรมชาติในชั้นหินในเปลือกโลก
ประโยชน์ของฟอสซิล
ฟอสซิลสามารถบอกให้เราทราบถึงชนิดรูปแบบและวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในช่วง ระยะเวลาทาง ธรณีวิทยารวมทั้งบ่งบอกสภาพแวดล้อมของโลกในอดีตกาลอีกด้วยเนื่องจากในแต่ละ ช่วงระยะ เวลาทางธรณีวิทยาจะมีสิ่งมีชีวิตเกิดขึ้นเฉพาะบางชนิดเท่านั้น
จากการคำนวณหาอายุของหินทั้งในโลกและจากดาวต่างๆในระบบสุริยจักรวาลโดยเฉพาะ อย่างยิ่ง จากดวงจันทร์ โดยการศึกษาไอโซโทป(isotope)ของธาตุกัมมันตรังสีต่างๆ(radioactive elements) ที่เป็นส่วนประกอบของหิน รวมทั้งการศึกษาเปรียบเทียบชั้นหินโดยใช้ซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ทราบอายุของโลกโดยประมาณ 4,600,000,000 ป
(4.6 billion years) และแบ่งช่วง ระยะเวลาทางธรณีดังกล่าวออกเป็น บรมยุค(eon) มหายุค(era) ยุค (period) และ สมัย (epoch)
ตารางระยะเวลาทางธรณีวิทยา
EON
(บรมยุค)ERA
(มหายุค)PERIOD
(ยุค)EPOCH
(สมัย)
DURATION
(เวลาล้านปี)
Phanerozoic Cenozoic Quaternary Holocene 0.011-Today
Pleistocene 1.8-0.011
Tertiary Pliocene 5-1.8
Miocene 23-5
Oligocene 38-23
Eocene 54-38
Paleocene 65-54
Mesozoic Cretaceous - 146-54
Jurassic - 208-146
Triassic - 245-208
Paleozoic Permian - 286-245
Carboniferous Pennsylvanian 325-286
Mississippian 360-325
Devonian - 410-360
Silurian - 440-410
Ordovician - 505-440
Cambrian - 544-505
Precambrian Proterozoic - 2,500-544
Archean - 3,800-2,500
Hadean - 4,500-3,800
ดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง ซึ่งอาศัยอยู่บนผืนแผ่นดินและสูญพันธุ์หมดสิ้นจากโลกนี้ เมื่อหลายสิบล้านปีมาแล้ว ในปัจจุบันพบเพียงซากกระดูกส่วนต่าง ๆ ซึ่งเราเรียกว่าฟอสซิลของไดโนเสาร์คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์ ที่ใหญ่โต มโหฬารหรือเป็นสัตว์ประหลาดขนาดยักษ์เช่นเดียวกับปลาวาฬ บ้างก็ว่าเป็นสัตว์ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีชีวิตอยู่ในโลก แต่โดยความเป็นจริง ไดโนเสาร์มี ขนาดและรูปร่างแตกต่างกันมากมาย ตั้งแต่ขนาดใหญ่มหึมา น้ำหนักกว่า 100 ตัน สูงมากกว่า 100 ฟุต จนถึงพวกที่ขนาดเล็ก ๆ บางชนิดก็มีขนาดเล็กกว่าไก่ บางพวกเดินสี่ขา บางพวกก็เดินและวิ่งบนขาหลัง 2 ข้าง บางพวกกินแต่พืชเป็นอาหาร ในขณะที่อีกพวกหนึ่งกินเนื้อเช่นเดียวกับสัตว์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ไดโนเสาร์พวกแรก ปรากฎขึ้นมาในโลกในช่วงตอนปลายของยุคไทรแอสสิกเมื่อกว่า225ล้านปีมาแล้วเป็น เวลาที่ทวีปทั้งหลาย ยังต่อเป็นผืนเดียวกัน สัตว์เลื้อยคลานพวกนี้มีชีวิตอยู่และมีวิวัฒนาการตลอดระยะเวลาอันยาวนานถึง 160 ล้านปี กระจัด กระจายแพร่หลายอยู่ทั่วผืนแผ่นดินในโลก แล้วจึงได้สูญพันธุ์ไปหมดในปลายยุคครีเทชียสหรือเมื่อ 65 ล้านปีที่ล่วงมาแล้ว ในขณะที่ต้นตระกูลของมนุษย์เพิ่งจะปรากฎในโลกเมื่อ 5 ล้านปีที่ผ่านมา หลังจาก ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วถึง 60 ล้านปี และเผ่าพันธุ์ของมนุษย์ปัจจุบันนั้นเพิ่งเริ่มต้นมาเมื่อไม่เกินหนึ่งแสนปี มานี่เองมนุษย์มักจะคิดว่าไดโนเสาร์นั้นโง่และธรรมชาติสร้างมาไม่เหมาะสมกับ สภาพแวดล้อม จึงทำให้มันต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด ความคิดนี้ไม่ถูก โดยแท้จริงแล้วไดโนเสาร์ได้เจริญแพร่หลายเป็น เวลายาวนานกว่า 30 เท่า ที่มนุษย์ได้อาศัยอยู่ในโลก ตลอดช่วงเวลาอันยาวนานนี้ไดโนเสาร์ได้มีวิวัฒนา การออกไปเป็นวงศ์สกุลต่าง ๆ กันมากมาย เท่าที่ค้นพบและจำแนกแล้วประมาณ 340 ชนิด และคาดว่า ยังมีอีกเป็นจำนวนมากที่กำลังรอคอยการค้นพบอยู่ในที่ต่าง ๆ กันทั่วโลก ทุกวันนี้ ทั่วโลกมีคณะสำรวจ ไดโนเสาร์อยู่ประมาณ 100 คณะทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกมากมาย ประมาณว่ามี การค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้น 1 ชนิดในทุกสัปดาห์ นักโบราณชีววิทยา แบ่งไดโนเสาร์ออกเป็น 2 กลุ่ม ใหญ่ โดยอาศัยความแตกต่างของกระดูกเชิงกราน คือ
1. พวกซอริสเซียน (Saurischians) มีกระดูกเชิง กรานเป็นแบบสัตว์เลื้อยคลาน คือ กระดูก พิวบิส และอิสเชียมแยกออกจากกันเป็นมุมกว้าง
2. พวกออรืนิธิสเชียน (Ornithiscians) มีกระดูก เชิงกรานเป็นแบบนก คือ กระดูกทั้ง 2 (พิวบิสและอิสเชียม) ชี้ไปทางด้านหลัง


การค้นพบได โนเสาร
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องฟอสซิลได้ค้นพบไดโนเสาร์มานานแล้ว แต่มีการตั้งชื่อไดโนเสาร์ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2384(ค.ศ.1841)ในการประชุมของสมาคมวิทยาศาสตร์ก้าวหน้าในประเทศอังกฤษ โดยศาสตราจารย์ ริชาร์ด โอเวน หลังจากนั้นทำให้ฟอสซิลของสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ที่ได้ค้นพบกันมานานเป็น ที่รู้จักแพร่หลาย
คำว่าไดโนเสาร์(dinosaur) มาจากภาษากรีกโดยคำว่า"ไดโน"(deinos) แปลว่าน่ากลัวมาก และ"ซอรอส" หมายถึงสัตว์เลื้อยคลาน
การ สูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
ปัจจุบันไดโนเสาร์ได้สูญพันธุ์ ไปแล้วและมีแนวความคิดหรือสมมติฐานเกี่ยวกับการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ มากมายโดยอ้างถึงสาเหตุต่างๆเช่น การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำทะเล การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และการระเบิดจากนอกโลก(supernova) เป็นต้น แต่มีอยู่ 2 สมมติฐานที่ได้รับความสนใจและเป็นที่ถกเถียงกัน
อย่างเข้มข้นได้แก่
1.การชนโลกของดาวเคราะห์น้อย(Asteroid Impact or K-T Impact)
การชนทำให้เกิดการ ระเบิดและฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองสู่บรรยากาศโลก เป็นเสมือนม่านบดบังแสงอาทิตย์ เป็นผลให้เกิดความมืดมิดและความหนาวเย็นอย่างฉับพลันอยู่นานเป็นเดือนๆจน ไดโนเสาร์ไม่สามารถ มีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมดังกล่าว
แนวความคิดหรือสมมติฐานนี้อ้างหลักฐานการพบธาตุIridium ปริมาณมากกว่าปกติในชั้น clay บางๆที่มีอายุอยู่ในช่วงรอยต่อระหว่างยุค Cretaceous และ Tertiary(K-T boundary) ใน บริเวณต่างๆของโลก นอกจากนั้นยังพบโครงสร้างที่เชื่อว่าเกิดจากการชนของดาวเคราะน้อย คือChicxulub Structure ที่แหลม Yucatan ในประเทศเมกซิโก
2.การระเบิดของภูเขาไฟที่ที่ราบสูง Deccan ในประเทศอินเดีย (Deccan Traps Volcanism)
การระเบิดครั้งนี้เป็น การระเบิดที่รุนแรงที่สุดในช่วงอายุของโลกและเป็นการระเบิดที่เนื่องมาจาก mantle plume หรือ hotspot จากใต้โลก เป็นผลทำให้ลาวาชนิด basaltic (basaltic lava) จำนวนมหาศาลไหลสู่เปลือกโลก ปกคลุมพื้นที่กว่า 1 ล้านตารางไมล์ และหนากว่า 1 ไมล์ เกิด mantle degassing ทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำถูกนำขึ้นสู่ผิวโลกด้วยอัตราที่ผิดปกติ ก่อให้เกิดชั้น greenhouse gases ในบรรยากาศกักเก็บความร้อน จากดวงอาทิตย์ไว้ที่ผิวของโลกไม่ให้มีการถ่ายเท อุณหภูมิจึงสูงขึ้น รวมทั้งทำให้วัฏจักรของคาร์บอนและออกซิเจน เปลี่ยนแปลงจนนำมาสู่การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์
ส่วนปลายของกระดูก อิสเซียมของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด--->
ซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์ในประเทศไทย
เมื่อไดโนเสาร์ตาย ส่วนอ่อนๆ เช่น เนื้อและหนังจะเน่าเปื่อยหลุดไป เหลือแต่ส่วนแข็ง เช่น กระดูกและฟัน ซึ่งจะถูกโคลนและทรายทับถมเอาไว้ ถ้าการทับถมของโคลนทรายเกิดขึ้นอย่าวรวดเร็วก็จะคงเรียงรายต่อกันในตำแหน่ง ที่มันเคยอยู่เป็นโครงร่าง แต่หากการทับถมเกิดขึ้นอย่าง ช้าๆกระดูกก็จะมีโอกาสถูกทำให้กระจัดกระจายปะปนกัน การทับถมของโคลนทรายทำให้อากาศและออกซิเจนซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเติบโตของ แบคทีเรียไม่สามารถเข้าถึง ซากได้ ขณะเดียวกันน้ำและโคลนที่เต็มไปด้วยแร่ธาตุต่างๆ เช่น แคลไซต์ เหล็กซัลไฟด์และซิลิก้าก็ค่อยๆซึมเข้าไปในเนื้อกระดูก อุดตันโพรงและช่องว่างที่มีอยู่ ทำให้กระดูกเหล่านั้นแกร่งขึ้น สามารถรับน้ำหนักของหิน ดิน ทรายที่ทับถมต่อมาภายหลังได้ นานๆเข้ากระดูกจะกลายเป็นหิน มีเพียงฟันที่ไม่ค่อยจะถูกแปรสภาพเท่าไรเนื่องจากฟันเป็นส่วนที่แข็งที่สุด บางครั้งแร่ธาตุบางอย่างเข้าไปกัดกร่อนละลายกระดูกและทิ้งลักษณะกระดูกไว้ เป็นโพรง โพรงเหล่านี้จึงกลายเป็นเสมือนแม่พิมพ์และต่อมาเมื่อแร่ธาตุอื่นเข้าไปอยู่ เต็มโพรงก็จะเกิดเป็นรูปหล่อ ของชิ้นกระดูก บางครั้งเมื่อไดโนเสาร์ตายใหม่ๆแล้วถูกทับถมด้วยโคลนแล้วเนื้อหนังเปื่อย เน่าเป็นโพรงก็จะเกิดรูปหล่อของรอยผิวหนังทำให้เรารู้ลักษณะของผิวหนัง ในที่บางแห่งซากไดโนเสาร์ ถูกน้ำพัดพามาทับถมอยู่ด้วยกันเกิดเป็นชั้นสะสมของกระดูกไดโนเสาร์
นอกจากฟอสซิลกระดูก ฟันและร่องรอยของผิวหนังแล้ว ไดโนเสาร์ยังทิ้งรอยเท้าไว้บนโคลน ฟอสซิลรอยเท้าเหล่านี้ทำให้ทราบ ถึงชนิด ลักษณะท่าทางของไดโนเสาร์เช่น เดิน 2 ขาหรือ 4 ขา เชื่องช้าหรือว่องไว อยู่เป็นฝูงหรืออยู่เดี่ยวๆ บางครั้งพบมูลของไดโนเสาร์กลายเป็นฟอสซิล เรียกว่า คอบโปรไลท์ ซึ่งทำให้ทราบถึงขนาดและลักษณะของลำไส้ ไข่ไดโนเสาร์ที่พบเป็นฟอสซิลก็ทำให้ทราบว่าไดโนเสาร์ออกลูกเป็นไข่ บางครั้งพบตัวอ่อนอยู่ในไข่ทำให้รู้ว่าเป็นไข่ของไดโนเสาร์ชนิดไหน นอกจากนี้ยังมีการค้นพบโครงกระดูกไดโนเสาร์ในลักษณะกำลังกกไข่อยู่ในรัง ทำให้รู้ว่าไดโนเสาร์บางชนิดก็ดูแลลูกอ่อนด้วย
เมื่อยุคไดโนเสาร์ผ่านไปหลาย ล้านปีชั้นของทรายและโคลนยังคงทับซากไดโนเสาร์ไว้จนกลายเป็นหินและถูกผนึก ไว้ในชั้นหินด้วยซีเมนต์ธรรมชาติได้แก่ โคลนทราย จนเมื่อพื้นผิวโลกมีการเคลื่อนตัว ชั้นหินบางส่วนถูกยกตัวสูงขึ้นแล้วเกิดการกัดกร่อนทำลายชั้นหินโดยความร้อน จากดวงอาทิตย์ ความเย็นจากน้ำแข็ง ฝน และลม จนกระทั่งถึงชั้นที่มีฟอสซิลอยู่ทำให้บางส่วนของฟอสซิลโผล่ออกมาเป็นร่องรอย ให้นักวิทยาศาสตร์มาขุดค้นต่อไป
เนื่องจากไดโนเสาร์เป็นสัตว์ บก มีชีวิตอยู่ในช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือประมาณ 245-65 ล้านปีมาแล้ว ดังนั้นซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์จึงพบอยู่ในชั้นหินตะกอนที่สะสมตัวบนบกใน ช่วงยุค Triassic ถึง Cretaceous หรือหินในช่วงมหายุค Mesozoic จากการสำรวจธรณีวิทยาในประเทศไทย พบว่าหินที่มีอายุดังกล่าวพบโผล่อยู่ทั่วไปในบริเวณที่ราบสูงโคราชและพบเป็น แห่งๆในภาคเหนือและภาคใต้ของประเทศไทย ชั้นหินดังกล่าวประกอบด้วย หินดินดาน หินทรายแป้ง หินทรายและ หินกรวดมนมีสีน้ำตาลแดงเป็นส่วนใหญ่ ตอนบนของหินชุดนี้มีชั้นของเกลือหินและยิปซั่มอยู่ด้วย เนื่องจากชั้นหินเหล่านี้มีสีแดงเกือบทั้งหมดจึงเรียกหินชุดนี้ว่า ชั้นหินตะกอนแดง(red bed) ซึ่ง เรารู้จักกันในชื่อ กลุ่มหินโคราช หินกลุ่มนี้มีความหนากว่า 4,000 เมตร ดังนั้นจึงพบซากดึกดำบรรพ์ของไดโนเสาร์และสัตว์มีกระดูกสันหลังอื่นๆอยู่ใน บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมากมายหลาย แห่ง เช่น ภูเวียง ภูพาน และภูหลวงเป็นต้น
การค้นหาฟอสซิลของไดโนเสาร์ใน ประเทศไทยเพิ่งเริ่มต้นในทศวรรษที่ผ่านมานี้เองโดยโครงการศึกษาวิจัยฟอสซิ ลของสัตว์ มีกระดูกสันหลังในประเทศไทย กรมทรัพยากรธรณี ก่อนหน้านี้มีรายงานการวิจัยฟอสซิลของสัตว์มีกระดูกสันหลังน้อยมาก ในปีพ.ศ.2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบกระดูกขนาดใหญ่ จากภูเวียง จังหวัดขอนแก่นแต่ผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด พวกกินพืช เดิน 4 เท้า คอยาว หางยาว มีความยาวประมาณ 15 เมตร ซึ่งนับว่าเป็นรายงานการ ค้นพบไดโนเสาร์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปีพ.ศ.2524 และ2525ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆของ ไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึง นับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาฟอสซิลไดโนเสาร์อย่างจริงจัง
ฟอสซิลไดโนเสาร์ในประเทศไทย
ฟอสซิลไดโนเสาร์ที่พบในประเทศ ไทยจนถึงปัจจุบันมีอายุอยู่ระหว่าง 100-200 ล้านปีมาแล้ว แบ่งเป็นยุคต่างๆดังนี้
1.ยุค Triassic ตอนปลาย
ในปีพ.ศ.2535 กรมทรัพยากรธรณีสำรวจพบกระดูกสะโพกส่วนหน้าของไดโนเสาร์โปรซอโรพอด ในชั้นหินทรายสีแดงของหมวดหิน น้ำพอง ในเขตอำเภอน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ มีอายุประมาณ 200ล้านปี นับเป็นกระดูกไดโนเสาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นการพบฟอสซิลของพวก โปรซอโรพอดเป็นครั้งแรกในภูมิภาคนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับฟอสซิลชนิดนี้จากแหล่งต่างๆทั่วโลก พบว่าโปรซอโรพอดของไทยมีขนาดใหญ่ แข็งแรง อาจยาวถึง 8 เมตร โปรซอโรพอด เป็นไดโนเสาร์ที่กินพืช ฟันมีรอยหยักแบบเลื่อยอย่างหยาบ มีคดยาว เท้าหน้ามีขนาดค่อนข้างเล็กกว่าเท้าหลัง มีเล็บแหลมคม
2.ยุค Jurassic
ในปีพ.ศ.2539 คณะสำรวจไทย-ฝรั่งเศสได้พบแหล่งฟอสซิลฟันไดโนเสาร์ที่อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ในชั้นหินหมวด ภูกระดึง อายุ 150-190 ล้านปี เป็นฟันของไดโนเสาร์เทอโรพอดซึ่งกินเนื้อมีลักษณะหยักแบบฟันเลื่อย ฟันของซอโรพอดและฟันของสเตโกซอร์ซึ่งพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
3.ยุค Cretaceous
ยังไม่พบฟอสซิลกระดูก ไดโนเสาร์เลย พบเพียงแต่รอยเท้าไดโนเสาร์ ทำให้ทราบถึงรูปร่างลักษณะ ขนาด ชนิดและลักษณะการเดิน ชั้นหินที่พบได้แก่หมวดหินพระวิหารอายุประมาณ 140 ล้านปี บริเวณที่พบมี 4 แห่ง ได้แก่
3.ลานหินป่าชาด ภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
พบรอยเท้าไดโนเสาร์ซึ่งทำให้ ทราบว่าเป็นไดโนเสาร์กินเนื้อ เดินด้วยขาหลัง เคลื่อนไหวว่องไว มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ ยังพบรอยเท้าไดโนเสาร์พวกคาร์โนซอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่า
3.2 น้ำใสใหญ่ เขาใหญ่ จังหวัดปราจีณบุรี
พบรอยเท้าไดโนเสาร์เทอโรพอ ดซึ่งเป็นไดโนเสาร์เดิน 2 เท้า ขนาดใหญ่ มีรอยเท้ากว้าง 26 ซม. ยาว 31 ซม. รวมทั้งพวก ออร์นิโธพอด และซีลูโรซอร์ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก รอยเท้ากว้าง 14 ซม. ยาว 13.7 ซม.
3.3 ภูแฝก กิ่งอำเภอนาคู จังหวัดกาฬสินธุ์
พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อ ขนาดใหญ่พวกคาร์โนซอร์ รอยเท้ากว้าง 40 ซม. ยาว 45 ซม.
3.4 ภูเก้า จังหวัดหนองบัวลำภู
พบรอยเท้าไดโนเสาร์กินเนื้อ ขนาดย่อม แต่ยังไม่ได้ศึกษารายละเอียด
4.ฟอสซิลไดโนเสาร์ในชั้นหิน หมวดเสาขัว อายุ 130 ล้านปี
พบฟอสซิลไดโนเสาร์ที่บริเวณ ประตูตีหมา ภูเวียง และบริเวณใกล้เคียงหลายชนิดคือ
4.1 กระดูกที่มีลักษณะใกล้เคียงกับซอโรพอดจากอเมริกาเหนือซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาด ใหญ่ มีความยาวถึง 15 เมตร คอยาวหางยาว เดิน 4 เท้า กินพืชเป็นอาหาร ต่อมาพบกระดูกไดโนเสาร์ชนิดนี้ที่มีสภาพดีทำให้ทราบว่าเป็น ฟอสซิลของไดโนเสาร์ซอโรพอดสกุลใหม่ซึ่งได้รับ พระราชทานพระราชานุญาตอันเชิญพระนามาภิไธยของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยาม บรมราชกุมารีเป็นชื่อไดโนเสาร์นี้คือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน(Phuwiangosaurus sirindhornae)
4.2 ฟันของไดโนเสาร์สกุลใหม่และชนิดใหม่ชื่อสยามโมซอรัส สุธีธรน(Siamosaurus suteethorni)
4.3 กระดูกขาหลังท่อนล่างและขาหน้าท่อนบนของไดโนเสาร์ซีลูโรซอร์(Coelurosaur) ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ขนาดเล็ก มากชนิดหนึ่งเดินด้วย 2 ขาหลัง และกินเนื้อเป็นอาหาร
ดังนั้นบริเวณภูเวียงจึงถูก ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติในปีพ.ศ. 2535 และเป็นอุทยานไดโนเสาร์แห่งแรกใน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ 


ขอบคุณบทความจาก  http://school.obec.go.th

สักกะวัน